Get Adobe Flash player

วัตถุมงคลวัดโนนสว่าง

Home การเส็งกลองกิ่ง

 

ประเพณีการเส็งกลองกริ่ง
พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (เจริญ ฐานยุตโต)


ได้เป็นผู้นำในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมประเพณีโบราณของชาวอีสาน ให้กลับมาอีกครั้งโดยจัดให้มีการแข่งขันเส็งกลองกริ่งในงานเทศกาลประจำปี หรือวาระอื่นๆ ที่สำคัญเป็นประจำทุกปี โดยมีโล่ห์รางวัลเกียรติยศ พร้อมด้วยเงินรางวัลให้แก่ผู้เข้าร่วมแข็งขัน โดยทางวัดได้สร้างกลองขึ้นมาเองทั้งหมด เนื่องจากหลวงพ่อเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการทำกลองมาก จะเริ่มตั้งแต่หาไม้ที่เหมาะสมแก่การทำกลอง แล้วมากลึงให้ได้ขนาดและรูปร่างที่ต้องการ แล้วใช้หนังควาย หรือหนังวัวที่ผ่านการตากและขูดผิวเรียบร้อยแล้ว นำมาขึงหน้ากลอง ซึ่งขั้นตอนการขึงหน้ากลองนั้นหากไม่มีความเชี่ยวชาญแล้วยากที่จะตั้งให้ได้ เสียงกลองที่ต้องการ และกลองของวัดโนนสว่างนั้นมีเสียงเป็นที่เลื่องลือว่าดังก้องกังวานมาก ยิ่งตียิ่งดัง เสียงต้องดังกริ่ง กริ่ง เหมือนเคาะตีเหล็ก ไม่ดังตึง ตึง แซะ แซะ เนื่องจากกลองกริ่งต้องดังกังวานเหมือนตีเหล็กจึงถูกต้อง ส่วนไม้ตีนั้นหลวงพ่อให้ใช้ด้ามจับเป็นเหล็กหรือไม้ ส่วนท่อนปลายนั้นใช้ตะกั่วหล่อเป็นก้อน ใช้ตีด้วยแรงมหาศาลก็ยากที่จะแตกหักได้ ส่วนระเบียบการเข้าแข็งขันและวิธีการนั้นจะได้กล่าวถึงดังต่อไปนี้

การตั้งคณะกรรมการ

การตั้งกรรมการเพื่อให้ทำหน้าที่ตัดสันการแข่งขันกลองเส็งนั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะถือว่าเป็นบันไดขั้นสุดท้าย เป็นเครื่องชี้ขาด และให้ความเที่ยงธรรมแก่ผู้เข้าแข่งขัน บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการ ต้องเป็นผู้ที่มีความอดทนต่อเสียงกลองเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันต้องมีความชำนาญที่จะให้คะแนนว่ากลองของฝ่ายใดดังกว่าและมีความ รอบรู้ในเรื่องกลองเส็งเป็นอย่างดี เพราะหากการตัดสินไม่ตรงกับความรู้สึก หรือ การได้ยินของชาวบ้าน ก็อาจจะถูกชาวบ้านโห่หรือขว้างปาเอา ในอดีต เคยมีเรื่องเล่าว่า ผู้ที่เป็นกรรมการตัดสินบางราย ถึงกับต้องปีนต้นไม้ขึ้นไปฟังเสียงกลอง เพื่อให้แน่ใจว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ การตั้งกรรมการมีจำนวนเป็นเลขคี่ เช่น ๓ คน ๕ คน

การประกบคู่

การประกบคู่ คือ การเลือกหาคู่ที่เหมาะสมเข้าแข่งขันกัน จำเป็นต้องมีการกำหนดกติกา เหมือนกับการเล่นกีฬาประเภทอื่นๆ คือ
๑. กรรมการจะต้องประกบคู่ (เปรียบคู่) เหมือนกับเปรียบมวย โดยยึดเอาขนาดของกลองเป็นเกณฑ์ บางหมู่บ้านที่มีความพิถีพิถัน ก็ต้องดูอายุผู้ตีด้วย เพราะถ้าใช้คนแก่มาตีแข่งขันกับคนหนุ่ม ก็สู้คนหนุ่มไม่ได้ บางหมู่บ้านนั้นก็ไม่เกี่ยงขนาด ขอให้ได้แข่งขันเหมือนนักมวยไม่เกี่ยงน้ำหนัก ในบางครั้งกฎเกณฑ์นี้จึงไม่เป็นกฎระเบียบที่ตายตัวนัก
๒. การกำหนดไม้ตี ตามปกติการแข่งขันกลองเส็ง จะแข่งขันกันทีละ ๒ คณะ แต่ละคณะจะใช้ทีมละ ๒ ลูก ใช้ไม้ตีลูกละไม้ กำหนดผู้ตีคณะละ ๕ คน ซึ่งเรียงตามลำดับการตีว่า ผู้ตีไม้ ๑ ผู้ตีไม้ ๒ ผู้ตีไม้ ๓ ผู้ตีไม้ ๔ ผู้ตีไม้ ๕
ในกรณีที่มีคณะกลองเส็งเข้าสมัครแข่งขันจำนวนมาก กรรมการมักจะใช้วิธีจับฉลากแบ่งสายให้เท่ากัน ทำการประกบคู่ให้เสร็จ และกำหนดวันเวลาแข่งขันให้ทราบเพื่อให้ผู้แข่งได้เตรียมความพร้อม หลังจากประกบคู่ได้แล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะต้องรับทราบเกี่ยวกับระเบียบการแข่งขันด้วย

ระเบียบการแข่งขัน

ปัจจุบันการตัดสินกลองเส็งมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงของคณะกรรมการเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่นในสมัยโบราณ บางแห่งใช้การจุดเทียนตั้งไว้ให้ผู้ตีกลองแต่ละฝ่ายโหมตี ถ้าฝ่ายใดสามารถตีกลองจนความสั่นสะเทือนของเสียงทำให้เทียนดับได้ก็ถือว่า ชนะ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ มีการประกวดการแข่งขันกลองเส็งในงานบุญพระเวส ซึ่งเป็นการประกวดครั้งที่ ๑ มีปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินการแข่งขันและการให้คะแนนอยู่บ้างจนทำให้ผู้เข้า แข่งขันไม่พอใจ และกรรมการได้หาวิธีใหม่จนหาข้อยุติได้

ระเบียบการแข่งขันกลองเส็ง มีดังนี้

๑. การแต่งกาย ผู้ตีกลองจะต้องกายในรูปแบบที่เน้นถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวอีสานเป็นหลัก เช่น ใส่เสื้อม่อฮ่อม นุ่งโสร่ง
๒. การกำหนดกลอง กลองที่จะนำมาแข่งขัน หลังจากประกบคู่แล้วเมื่อถึงเวลาแข่งห้ามเปลี่ยนเอากลองลูกอื่นมาตีแทน
๓.การกำหนดผู้ตี ก่อนแข่งผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องเข้ารายงานตัวก่อน ๑ ชั่วโมง มิฉะนั้นจะถูกปรับแพ้
๔. ไม้ตีกลอง สามารถใช้ได้เพียง ๑ คู่ หากไม้หลุดมือ จะถูกหักคะแนน เราเรียกว่า หมดหนทางสู้ (แพ้ฟาล์ว)
๕. กำหนดเวลา เมื่อถึงเวลาจะทำการแข่งขันผู้ตีทั้ง ๕ คน จะอยู่ในบริเวณแข่งขัน ต้องเรียงคนตามที่กรรมการเรียก หากสลับตัวผู้ตีโดยเด็ดขาด
๖. วิธีตีแข่งขัน ผู้แข่งจะดูสัญญาณ ธงเขียวพัดไปมาอยู่แสดงว่าเริ่มตี และหากหยุดตีกรรมการจะยกธงขึ้น
๗. การตัดสิน จะยึดเอาหลักความดังของเสียงเป็นเกณฑ์ หากฝ่ายใดชนะ กรรมการจะให้ ๑ คะแนน แต่ถ้าแพ้ก็จะให้ ๐ คะแนน
๘. การปรับให้แพ้ มีหลายกรณีตามข้อ ๑,,
๙.เหตุสุดวิสัย ถ้าขณะแข่งขันหน้ากลองกับฉีกขาดแสดงว่าผู้นั้นเป็นผู้แพ้
๑๐.ผลการตัดสิน หากกรรมการทั้ง ๕ ตัดสินแล้วจะเป็นผลทันทีไม่การประท้วงทั้งสิ้น

การเตรียมความพร้อม

๑. การเตรียมความพร้อมของคณะกรรมการ
สิ่งที่จะต้องเตรียมคือ การเตรียมสถานที่ จะต้องกำหนดอย่างชัดเจน ต้องมีการวางแผนการประชุมอย่างรัดกุม
๑.๑ การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเวที คือเป็นเวทีพื้นยกชั่วคราว พื้นปูด้วยไม้กระดาน กว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๖๐ เซนติเมตร บนเวทีมีขาหยั่งเอียงประมาณ ๖๐ องศา
๑.๒ เตรียมความพร้อมเรื่องธง ได้แก่ธงสีเขียว
๑.๓ เตรียมความพร้อมเรื่องแสง เสียง เพราะต้องอาศัยเครื่องขยายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์ หากเช่นนั้นกลองจะกบเสียงผู้บรรยาย
๑.๔ กรรมการต้องทำความเข้าใจกับกติกา และผลการตัดสิน

๒. การเตรียมความพร้อมของผู้เข้าแข่งขัน
๒.๑ เตรียมตัวผู้ตีกลอง ควรเลือกคนที่มีพละกำลังและความสามารถ และประสบการณ์
๒.๒ เตรียมยาพาหนะ เพื่อรับส่งคณะแข่งขันและขนกลอง
๒.๓ เตรียมยานพาหนะสำรับกองเชียร์ที่จะไปให้กำลังใจ
๒.๔ นำกลองที่ได้ไม้ เข้าน้ำกลอง คือนำกลองกลิ้งไปกับรางไม้ไผ่ นอกจากนี้ก็ใช้น้ำฉีดเป็นละอองเข้ารูแพ เพื่อให้หนังนุ่ม ไม่ขาด เป็นเทคนิคหนึ่งที่สำคัญ
๒.๕ ทดลองตีกลอง โยผู้ตีจะเป็นหัวหน้าทีมเพื่อจะได้รูว่ากลองเสียงดัง แหลมได้ดี ก่อนจะนำขึ้นแข่งขัน
ในการแข่งขันผู้ตีจะต้องใช้สมาธิ สติปัญญามากในการฟังเสียงกลองของตนเอง และเสียงของคู่แข่ง และใช้สายตาในการข่มขวัญผู้ต่อสู้ และเริ่มตีกลองเบาๆ เรียกว่า การเดาะกลอง และโหมกลองให้เร็วขึ้น และส่วนมากการแข่งขันจะวัดเสียงที่ยกสุดท้าย

๓. การเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆ
เกี่ยวกับพาหนะ ซึ่งจำเป็นมากเพราะจะได้สะดวกในการเดินทางและขนส่งสัมภาระ และกองเชียร์เพื่อไปเชียร์หมู่บ้านตัวเอง ทุนทรัพย์ เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อการแข่ง ซึ่งเป็นคุณค่าสูงสุดของงาน

รางวัล

เป็นแรงเสริมอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะ เป็น ช่างทำกลอง ผู้ตีกลอง แม้แต่ชาวบ้านเมื่อได้นับชัยชนะก็จะดีใจไปด้วยการให้รางวัลผู้จัดการแข่งขัน ต้องจัดให้เสมอ จัดไว้เพื่อเป็นสินน้ำใจในการเข้าร่วมการแข่งขัน รางวัลในสมัยก่อนจะเป็นของกิน ของใช้ ซึ่ง มีตะกร้าไม้ไผ่สาน ประกอบด้วย ไหม ขนม น้ำอ้อย กล้วย ข้าวต้มมัด ต่อมาค่าของเศรษฐกิจสูงขึ้น รางวัลจึงเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือ อาจจะเป็นโล่เกียรติยศ หรือถ้วยรางวัล และ เกียรติบัตรก็ได้

ขั้นตอนและวิธีการเส็งกลอง

เนื่องจากกลองเส็ง เป็นกลองที่จัดทำขึ้นมาเพื่อตีประโคมให้เกิดเสียงดังเป็นสำคัญ ต่อมามีผู้คิดให้นำมาประชันหาความเด่นว่ากลองคู่ใดจะมีเสียงดังกว่ากลอง อื่นๆ จนกระทั่งเกิดการแข่งขัน เอาแพ้เอาชนะกันเพื่อให้ได้มาซึ่งชื่อเสียงของวัดและหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของ การตีกลองที่เป็นการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องอาศัยกติกา หรือหลักเกณฑ์ในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องอาศัยกติกา หรือหลักเกณฑ์ในการแข่งขันเพื่อให้เกิดความเที่ยงธรรมขึ้น

วัดโนนสว่าง บ้านโนนสว่าง ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี มีการแข่งขันเส็งกลองกริ่งในเทศกาลต่อไปนี้

1. เทศกาลบุญมหาชาติ (ประมาณเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกปี)

2. วันคล้ายวันเกิดพระครูพิพัฒน์วิทยาคม วันที่ ๗ มิถุนายน ของทุกปี

3. วันเทศกาลบุญออกพรรษา