ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ทำเนียบวัตถุมงคลวัดโนนสว่าง(หลวงพ่อเจริญ  ฐานยุตโต)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
รูปหล่อรุ่น4 ปี2543 มีประคำ
รูปภาพ: 2_1_0914a4153ba02d4.jpg
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
รูปหล่อรุ่น เสาร์5 มหาอุต
รูปภาพ: 2_1_06fa2871aa2576c.jpg
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
รูปหล่อรุ่นคายธรรม
รูปภาพ: 2_14_43149f951c011c9.jpg
รูปภาพ: 2_14_fdf57234d5c9c30.jpg
รูปภาพ: รูปเหมือนคายธรรมนวะโลหะ.jpg
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
3....กริ่ง-รูปหล่อพระบูชา



หลวงปู่โมคคัลลาสร้าง ปีพ.ศ.๒๕๔๖

           หลวงพ่อเจริญ ท่านนับถือหลวงปู่โมคคัลลามาก ท่านเมตตาสูง บนบานสารกล่าวท่านเมตตาเสมอ เมตตา มาหลาภ มหาอุด แคล้วคลาด คุ้มครองป้องกันภัย ประสบการมากมาย
รูปภาพ: 2_1_8a19b886f7e1f1c.jpg
รูปภาพ: 2_1_efae4ccd34c6353.jpg
รูปภาพ: 2_1_b3237ff7901483b.jpg
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
กริ่งบุษราคัมรุ่นสร้างโบสถ์เนื้อสำฤทธิ์  บูชา 1,000 บาท ยังมีให้บูชา
รูปภาพ: 2_1_2925632479b35f0.jpg
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พระอุปคุตรุ่น1 สร้าง 8 มี.ค.40 รุ่นฉลองศาลาพุทธาพิเศก
รูปภาพ: 2_14_96a14f1d314859f.jpg
รูปภาพ: 2_14_796983048ef74b9.jpg
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พระเจ้ายอดธงจันทรบุรี
       รุ่นนี้ทางวัดไม่ได้จัดสร้าง แต่หลวงพ่อรับนิมนต์ไปปลุกเสกที่ จ.จันทรบุรี ตอนปลุกเสกเกิดปาฏิหารย์เกิดขึ้น(ลองสอบถามดูกันเอาเองครับน่าจะพอหาข้อมูลได้) ทำให้รุ่นนี้เป็นที่ต้องการของผู้คนทางจันทรบุรีเป็นอันมากครับ
รูปภาพ: 2_14_6476e2bb8ed8096.jpg
รูปภาพ: 2_14_8881af799898a12.jpg
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
กริ่งใหญ่หลวงปู่บุษราคัม (บ.กลางฯ)

ประวัติการสร้างพระกริ่งบุษราคัม รุ่นบริษัทกลางฯ

       เริ่มเรื่อง  ในเย็นวันที่ 18 มิถุนายน 2548 หลังจากจบการอบรมตัวแทนคุณภาพกับงานสินไหมที่จังหวัดอุดรธานี ได้มีน้องๆมาชวนให้ไปวัดโนสว่าง ไปหาหลวงพ่อเจริญ ที่พอจำได้เห็นจะมี ผอ.ด๊อง ผอ.ประยูร หมอโน โก้  แอ๊ด  สุเทพ และน้องๆอีกสี่ห้าคน ในช่วงแรกฟังจากน้องๆพูดว่าโบสถ์ที่สร้างมีมูลค่าราวสี่สิบล้านบาท ผมก็เลยคิดในใจว่า ท่าทางหลวงพ่อท่านคงมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย (คงเน้นวัตถุ) เมื่อไปถึง  เป็นช่วงเวลากลางคืน เห็นจากสภาพที่พักที่ท่านทำงาน ก็ไม่มีแอร์ ไม่หรูหรา อย่างที่คิด แต่เป็นแบบง่ายๆธรรมดาๆ เราอยู่ที่วัดนานพอสมควร ในช่วงเวลาดังกล่าวก็มีฝนตกลงมาค่อนข้างหนัก โก้เป็นคนที่เรียนถามหลวงพ่อ ว่าจะขอสร้างพระได้ไหม ไม่รู้เหตุใดท่านบอกว่าได้และว่าน่าจะสร้างพระกริ่ง ซึ่งก็ตรงกับความคิดของผอ.ประยูร พอดี  เรามาทราบทีหลังว่าที่จริงมีคนมาเคยขอสร้างพระกริ่งแต่ท่านไม่อนุญาตให้ใครสร้าง  เราคุยกันสักพัก และคิดว่าเราก็ทำงานร่วมกันมาก็เจ็ดปีแล้ว การสร้างพระเพื่อเป็นที่ระลึกก็น่าที่จะดี อีกทั้งยังเป็นการสืบสานต่อพระพุทธศาสนาอีกด้วย เมื่อเห็นพร้องต้องกันหลวงพ่อท่านก็เมตตาจารอักขระ ยันต์ลงบนแผ่นทองแดงให้     ท่านบอกว่า ให้ไปผสมกับโลหะเวลาหล่อพระของโรงงาน แต่เราก็มีแนวความคิดว่า ถ้าจะสร้างพระทั้งทีก็ต้องทำให้ดีเท่าที่จะมีกำลังทำได้  จึงมีแนวคิดที่จะหล่อแบบโบราณ ทั้งที่จริงตอนนั้นมีความรู้เรื่องหล่อพระน้อยมาก  แค่คาดเดาว่าวิธีการคือต้องมาเทหล่อที่วัด   พอกลับมาก็เริ่มทำการบ้าน โดยเริ่มจากการหาโรงหล่อก่อน โดยโก้ เป็นผู้ทำหน้าที่นี้ แรกๆก็ติดต่อโรงหล่อที่เคยสร้างพระให้วัดบวร เคาะราคากันเสร็จตกประมาณ แสนกว่านิดๆ ก็เป็นที่ตกลง ผมก็รับหน้าที่ไปเรียนเรื่องที่จะสร้างพระกับท่านกรรมการผู้จัดการ เพื่ออ้อนของบประมาณ ท่านอนุมัติ จึงขอกราบขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ เพราะถ้าไม่มีปัจจัยสร้าง ก็คงไม่สำเร็จ  
        ในทีแรกผมตั้งใจจะให้เช่าในราคาที่แพงกว่าในปัจจุบัน พอสมควร  เพราะตระหนักดีว่าต้นทุนการสร้างนั้นจะสูง แต่ท่านกรรมการผู้จัดการก็บอกว่าให้เช่าในราคาต่ำกว่าทุน ส่วนที่เหลือบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบ หลังจากนั้น พวกเราก็เริ่มออกแบบพระกริ่งต้นแบบ โดยทีแรกองค์พระ จะหล่อแบบพระกริ่งท่านอาจารย์ฝั้น ส่วนฐานพระ หลวงพ่อเจริญท่านบอกว่าให้เป็นฐานแบบบัวหงาย เราจึงเอาฐานพระของ อีกองค์มาตัดต่อ จำไม่ได้ว่านำแบบมาจากองค์ใด  และมียันต์ของหลวงพ่อเจริญอยู่ด้านหลังตรงฐานบัว พอออกแบบแล้วเสร็จ (ใช้วิธีการตัดต่อทางเทคนิคขั้นสูงคือใช้คัดเตอร์และกาวโดยฝีมือ ผอ.ด๊อง ) แล้วก็ให้โก้ไปคุยในรายละเอียดกับโรงหล่อ
        ปัญหาแรก ผมจำได้ว่า ผอ.ด๊อง เป็นคนโทรมาหา บอกว่าพี่ๆขึ้นมาด่วน มีปัญหาเล็กน้อยให้ตัดสินใจ ชวน ผอ.ประยูร มาด้วย พอขึ้นไป ผมถามว่ามีอะไรหรือ โก้แจ้งว่าราคาที่บอกว่าแสนกว่านั้น ช่างบอกว่าเป็นวิธีการหล่อแบบเหวี่ยง ไม่ใช่เป็นการเทหล่อ ถ้าเทหล่อราคาจะขึ้นไปสองแสนกว่าๆ  งานนี้โก้รับไปเต็มๆ   ในฐานะที่คุยกับโรงหล่ออย่างไรไม่รู้เรื่อง ผมเองก็ตกใจเพราะแจ้งเรื่องงบประมาณไปแล้ว และแล้ว ผม คุณประยูร และโก้ ก็ต้องจรรีออกจากบริษัทไปหาโรงหล่อในวันนั้น เรามุ่งตรงไปยังแถวๆวัดสุทัศน์ ซึ่งมีร้านให้เช่าพระเป็นจำนวนมาก ไปไหนไม่ถูกเลยเข้าไปในวัดไปถามหลวงพ่อในวัดว่าท่านครับแถวนี้มีโรงหล่อพระบ้างไหม ท่านแนะนำไปที่ร้านเจริญชัยการช่าง เมื่อไปถึงร้าน  พอสอบถามราคาก็ตกราวสองแสนกว่าบาทเช่นกัน ผมหน้ามืดเพราะคิดว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไรดี มันเกินงบประมาณไปมาก  จึงพูดกับเจ้าของร้านว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ผมจะไม่ต่อรองเลยซักคำ ผมขอราคาขาดตัว ถ้าทำไหวก็จะทำ ทำไม่ไหวก็คงไม่ทำ เจ้าของร้านถามว่าจะให้ทำกี่องค์ ผมบอกว่าพระกริ่งองค์เล็กจำนวน 999 องค์ พระกริ่งองค์ใหญ่ 19 องค์ เจ้าของร้านคิดราคาอยู่สักพัก ก็บอกว่า แสนต้นๆ พอทราบผมดีใจมาก เพราะอยู่ในงบประมาณที่คาดการณ์ไว้(ตอนนั้น) แต่เอาเข้าจริงๆเราสร้างพระกริ่งองค์เล็กประมาณ 2833 องค์ (เดิมสร้าง 1999 องค์ สร้างเพิ่มจากชนวนเดิม 834 องค์   พระกริ่งองค์ใหญ่ 35 องค์ (เดิมสร้าง 29 องค์ สร้างเพิ่มจากชนวนเดิม 6 องค์ )  พระกริ่งเงินอีก 110 องค์ ( เดิมสร้าง 100 องค์ โรงงานทำมาเพิ่ม 10 องค์ ) ในส่วนพระกริ่งเงินซึ่งจะอธิบายที่มาต่อไป
        การจองพระกริ่ง คุณประยูรและเจ้าหน้าที่  IT  ทำโปรแกรมการจองผ่านระบบ Intranet  ผมขอขอบคุณที่มีส่วนร่วมในงานบุญครั้งนี้ ในการจองนั้น ในความตั้งใจครั้งแรก ผมต้องการเปิดให้เช่าพระกริ่งองค์เล็ก เพียงคนละหนึ่งองค์  ส่วนพระกริ่งองค์เก้านิ้วก็ต้องการสร้างเพียงหนึ่งองค์เป็นของบริษัทเท่านั้น ต่อมามีผู้เข้ามาพูดคุยหลายคน แจ้งว่าต้องการเอาไปให้ผู้หลักผู้ใหญ่บ้าง ให้ลูกเมียบ้าง ผมอดรนทดไม่ไหวจึงต้องยอมเปิดให้เช่าตามแต่ศรัทรา โดยพระกริ่งองค์เล็ก เราน้อมถวายวัดจำนวน 600 องค์ พระกริ่งเงิน  40 องค์ พระกริ่งใหญ่องค์เก้านิ้ว ถวายวัด 3 องค์ ซึ่งมีทั้งเนื้อปิดทองคำ เนื้อมันปู และเนื้อทองเหลืองเดิม(ไม่พ่นสี ) เพื่อเป็นพุทธบูชา สำหรับพระกริ่งองค์เล็กนั้น ให้ทางวัดเปิดให้ประชาชนเช่าในราคาองค์ละ 500 บาท ส่วนองค์ใหญ่เราเปิดให้จองราคาเท่ากับพนักงานคือองค์ละ 4500 บาท (ต้นทุน 4000 บาท อีก 500 บาท ถวายวัดเพื่อสร้างโบสถ์ที่ยังไม่แล้วเสร็จ)  ดังนั้นการจองจึงเป็นไปอย่างอิสระ ตามความศรัทธาและความต้องการของแต่ละบุคคล โดยเปิดให้จองที่วัดด้วยเช่นกัน จำนวนที่สร้างจึงเพิ่มขึ้นตามที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ เมื่อมาถึงตรงนี้เราจะเห็นว่าพระที่เราร่วมกันสร้างนั้น  วัดก็จะมีเงินสร้างโบสถ์ต่อไป สิ่งนี้ถือเป็นเนื้อนาบุญที่เราได้ร่วมกันทำในชาตินี้
แนวคิดของ ผอ.ประยูรในการรวมดินทั้ง 76 จังหวัด เพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในการหล่อพระกริ่งนั้นเป็นแนวคิดที่ดีที่จะรวมใจของพนักงานทั้งหมดในบริษัท เพื่อหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ต้องขอขอบคุณพวกเราทุกคนที่นำดินบ้าง น้ำมนต์บ้าง แผ่นจารอักขระบ้าง นำมาให้คณะทำงาน แต่ต้องขอโทษน้องๆไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่าดินที่นำมานั้นช่างหล่อบอกว่าเขามีสูตรเฉพาะของเขา(ดินที่นำไปทำเบ้าพระ) เราไม่สามารถนำดินที่ได้มาไปรวมได้ ครั้นจะนำไปใส่ในองค์พระ หลวงพ่อท่านบอกว่าใส่ไม่ได้ ถ้าจะใส่ต้องเป็นของสูง เช่น อิฐ ตามเจดีย์เก่า กระเบื้องหลังคาโบสถ์เก่า เป็นต้น จึงทำให้คณะทำงานมือใหม่มองตากันปริบๆ ดินที่ได้มานั้นจึงนำไปไว้ที่วัดโนนสว่าง  แผ่นจารอักขระนั้นใช้ได้ ได้นำไปหลอมรวมเป็นองค์พระ    แม้นว่าคณะทำงานมือใหม่จะไม่สามารถทำในสิ่งที่ตั้งใจไว้ทั้งหมดได้ แต่สิ่งที่พนักงานร่วมกันนั้น ก็ถือเป็นแรงศรัทธาและรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ แล้ว
        การเปลี่ยน พระพักตร์พระกริ่ง ตามที่เขียนไว้ว่าเรานำต้นแบบการสร้างพระกริ่งมาจาก พระกริ่งของท่านอาจารย์ฝั้น การเปลี่ยนแบบพระพักตร์นั้น เป็นเรื่องแปลกเรื่องหนึ่ง คือในหนังสือที่ทางวัดโนนสว่างให้มา ได้กล่าวถึงประวัติของหลวงพ่อบุษราคัม ในตอนหนึ่งผมจำได้ว่าเกี่ยวข้องกับดอยบุษราคัม และชื่อหลวงพ่อที่นั่นรูปหนึ่ง  เวลาผมนอนก็มักจะคิดเรื่องสร้างพระกริ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ คิดไปคิดมา มาฉุดคิดได้ว่า ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว ผมเคยไปดอยบุษราคัม ซึ่งจำได้ว่าอยู่ที่จังหวัดพะเยา คับคล้ายคับครากับที่เคยอ่านในหนังสือของวัดโนนสว่าง วันรุ่งขึ้นจึงไปขอหนังสือของวัดโนนสว่างซึ่งอยู่ที่คุณประยูร พอมาเปิดดูก็เป็นดอยบุษราคัมที่จังหวัดพะเยาจริงๆ ผมดีใจ รีบโทรไปหาผู้จัดการสาขาพะเยา ถามถึงดอยบุษราคัม และอยากให้เงาะ (ผู้จัดการพะเยา) ไปนำน้ำมนต์ของทางวัดมาให้ และขอให้ถ่ายรูปพระมาให้ด้วย เพราะอยากจะสร้างให้เหมือนพระที่ดอยบุษราคัม ผู้จัดการบอกว่าพี่รอหน่อยได้ไหม ผมบอกว่า รอได้ มีอะไรหรือ ผู้จัดการบอกว่าอีกไม่กี่วันหลวงพ่อไพบูลย์เจ้าอาวาสวัด อนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม) จะมีงานฉลองอายุครบ 71 ปี ของหลวงพ่อไพบูลย์   (หลวงพ่อไพบูลย์เป็นพระที่อยู่ในประวัติที่มาของหลวงพ่อบุษราคัมที่วัดโนนสว่าง)  ผมจึงมีความต้องการที่จะขึ้นไปที่วัดในวันงานดังกล่าวซึ่งห่างจากวันที่โทรเพียงสองสามวัน ผมได้เอาเรื่องนี้ไปคุยกับคุณประยูร พอดีมีทีมวิทยุ คือคุณสุเทพและคุณปกรณ์ จะขึ้นไปที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดพะเยา พอดี ผมจึงขอร่วมเดินทางไปด้วย โดยไปพร้อมกับคุณประยูร ในขณะที่เดินทางประมาณเกือบห้าทุ่มรถก็เกิดอุบัติเหตุ โชว์เฟอร์ฝีมือดี โดยคุณสุเทพเป็นคนขับ (หลังจากงานนี้ไม่มีใครอยากให้ขับแต่เจ้าตัวอยากขับ) คุณสุเทพต้องการทดสอบความแข็งแกร่งของรถโตโยต้าวีโก้ กับรถพ่วงสิบล้อ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เป็นเวลาประมาณห้าทุ่ม  ช่วงลงเขา และฝนก็ตกพรำๆ  ปรากฏว่ารถโตโยต้าเบรกไม่อยู่ไถลไปชนท้ายรถพ่วงสิบล้อ กันชนท้ายรถพ่วงยุบเล็กน้อย ส่วนรถกระบะโตโยต้าไปไหนไม่รอด จอดรอรถยก เป็นเหตุให้ภาคธานินท์ และผู้จัดการสาขาลำปาง ต้องรุดถึงที่เกิดเหตุบริเวณทางลงเขา ก่อนถึงอำเภอสบปราบ แต่เหตุการณ์ต่างๆก็ผ่านไปด้วยดี เราอาศัยรถภาค ไปถึงจังหวัดพะเยาทันเวลาในงานพิธี ได้ร่วมในพิธี  ได้ใส่บาตร ได้ถ่ายรูปพระพุทธรูปทองคำที่ดอยบุษราคัม ได้ขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสนำรูปพระพุทธรูปทองคำ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปลักษณะแบบเชียงแสน หรือที่เรียกว่าแบบสิงห์หนึ่ง มาเป็นต้นแบบหล่อพระกริ่งบุษราคัม นี่จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนพระพักตร์ของพระกริ่งบุษราคัม  ส่วนองค์พระเป็นแบบพระกริ่งของท่านอาจารย์ฝั้น ที่แปลกไปกว่านั้นคือได้พบกับหลวงพ่อเจริญที่ดอยบุษราคัม  ซึ่งท่านได้ไปร่วมงานและนั่งปรกสร้างพระในพิธีสืบชะตาของหลวงพ่อไพบูลย์ด้วย
         ผมค้างเรื่องการสร้างพระกริ่งเงินเอาไว้ ขอเล่าต่อว่าอันที่จริงเราไม่ได้มีเจตนาในการสร้างพระกริ่งเงิน และก็ไม่ได้เปิดให้ใครเช่าไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่บริษัทหรือที่วัด (แต่ที่วัดคนต้องการพระกริ่งเงินเป็นจำนวนมาก) เรื่องของเรื่องคือหลวงพ่อเจริญ ท่านต้องการให้สร้างพระกริ่งเงินเอาไว้เป็นที่ระลึก โดยยอมออกเงินค่าสร้างเองจำนวน 30 องค์ ผมได้ไปเรียนเรื่องนี้ให้ท่านกรรมการผู้จัดการทราบ ท่านจึงบอกว่าสร้างทำไม 30 องค์ สร้างไป 100 องค์เลย เราเลยน้อมถวายพระกริ่งเงินให้หลวงพ่อโดยไม่ได้เก็บเงินจากท่าน ครั้นพอสร้างเข้าจริงๆ โรงหล่อก็ทำพระมาเผื่อ 10 องค์ ผมเลยเสียดายไม่คืนโรงงานแต่รับไว้ทั้งหมด โดยส่วนที่เกินนี้เราก็ได้ถวายให้หลวงพ่อเจริญ  พระกริ่งเงินนั้นทุกองค์มีโค๊ต กำกับ  
        18 ก.ย. 48 วันเททองหล่อพระกริ่งบุษราคัม ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง เป็นวันที่ชาวคณะสร้างพระรอคอย เรามีทีมงานทั้งที่เป็นคณะกรรมการและเป็นผู้มีความศรัทธามาช่วยแบกหาม ยกของ (กลุ่มผู้บริหาร…ร่างกาย) อันประกอบด้วย คุณสุเทพ คุณวรมิตร คุณปกรณ์ ที่มาช่วยเสริมแรงอีกสามคนนอกเหนือจากคณะทำงาน ส่วนคุณนา รับบทเป็นสมุห์  ตามมาทีหลัง และต้องขอขอบคุณทีมงานทางวัดอย่างสูง (ทั้งพระทั้งฆราวาส) เพราะถ้าไม่มีคงทำไม่ได้ ต้องขอบคุณพี่(ไม่ทราบชื่อ) เอารถแทรกเตอร์มาเกลี่ยปรับพื้นดินบริเวณพิธีให้ด้วย  แต่ก่อนที่จะพูดถึงวันเททองจะขอเล่าเรื่องก่อนวันงานสักคืนสองคืน  คือเรามีทีมงานซึ่งประกอบด้วย ผอ.ประยูร โก้ ปกรณ์  และยักษ์ขึ้นมานอนที่วัดเพื่อเตรียมความพร้อม คืนหนึ่งหลวงพ่อให้นำคนที่มารักษาผีฟ้าไปนอนด้วย เป็นคุณยาย อายุราวๆ 50-60 ปี  คุณยายได้ไปนอนที่ศาลาโดยนอนห่างจากทีมงานประมาณ 15 เมตร พอตกดึกประมาณตีสอง คุณยายเธอมาสะกิดเจ้ายักษ์ ซึ่งจับจองพื้นที่การนอนก่อนใคร แต่นอนเป็นคนนอกสุด (แต่ใกล้คุณยายมากที่สุด) เธอบอกเจ้ายักษ์ว่า ช่วยเปิดประตูให้หน่อย ยายจะไปฉี่ (พูดเป็นภาษาอีสานฟังกันไม่ค่อยรู้เรื่อง) หลังจากนั้นยายก็ปลุกเจ้ายักษ์อีกประมาณตีสี่ โดยคุณยายเอามือมาสะกิด พอยักษ์หันหน้าไปมอง เห็นภาพคุณยายอยู่ในท่าที่นอนคว่ำ เอามือมาค้ำคางทั้งสองข้าง (ถ้าเป็นสาวๆคงน่ารักน่าดู) ส่วนดวงตามองจ้องมาที่เจ้ายักษ์ บอกว่าช่วยนวดที ยักษ์ซึ่งไม่ค่อยจะหลับอยู่แล้วตกใจกลัวผีฟ้ากินตับ เอามือไปสะกิดเจ้าโก้ โก้แทนที่จะมาช่วยเป็นเพื่อน กลับกลัวสุดๆ หันหลังให้เจ้ายักษ์ แล้วเอาผ้าคุมโปง ปล่อยให้ยักษ์ต้องนอนเกร็งหลับตาอยู่กับความกลัวจนรุ่งสาง   ส่วนงานในวันเททองก็ผ่านไปด้วยดีมีฝนตกลงมาไม่ขาดสายแต่ไม่หนัก   หลวงพ่อท่านเมตตาให้มวลสารมาเพิ่ม เช่น เหล็กไหล (แบบที่งอกจากถ้ำ) เกล็ดทองคำ ปรอทดำ ส่วนที่เราเตรียมมาประกอบด้วย เงิน ทอง เหล็กน้ำพี้  สังกะสี ตะกั่ว ปรอท เจ้าน้ำเงิน(พลวง) ทองแดง ดีบุก  มาผสมกับของช่าง ในเนื้อนวะโลหะ ซึ่งจะมี เงิน ดีบุก ทองเหลือง ทองแดง  ส่วนพระกริ่งองค์ใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อทองเหลืองเราก็แบ่งมวลสารใส่ครบเช่นกัน รวมทั้งแผ่นจารอักขระที่หลวงพ่อท่านจารให้ ในการได้มาซึ่งมวลสารนั้นถึงแม้นว่าจะไม่มากมายแต่ก็ครบตามที่เราต้องการ  ต้องขอขอบคุณพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจริญ  และผู้มีส่วนร่วมในการหามวลสาร อาทิ คุณประสิทธิ์ (ผจก.กำแพง) คุณนารีรัตน์ (ผจก.อุตรดิตถ์) รวมทั้ง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่  ที่ผอ.ด๊องและ ผอ.พงศ์กฤษณ์ ไปขอแร่มาให้  พิธีการเททองเข้มขลังอย่างไร ผู้เข้าร่วมพิธีในงานวันเททอง ซึ่งมีทั้งพนักงานจากส่วนกลาง ผู้บริหาร และน้องๆภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มาร่วมงาน ย่อมเห็นและสัมผัสได้ด้วยตัวเอง การเททองหล่อที่ใช้เวลาเกินกำหนดคือ การเททองหล่อพระกริ่งเนื้อนวะโลหะ ซึ่งจริงๆต้องแล้วเสร็จช่วงที่ถัดจากการกล่อพระกริ่งองค์ใหญ่เก้านิ้ว ประมาณบ่ายโมงกว่าๆ  แต่กว่าจะเสร็จตกราว 6 โมงเย็น (เผาไฟตั้งแต่ 6 โมงเช้า จนถึง 6 โมงเย็น)  จนช่างต้องตั้งเตาเผาใหม่  พระต้องสวดนานขึ้นมาก หลวงพ่อเจริญท่านต้องเข้าไปไหว้หลวงพ่อบุษราคัมในโบสถ์อีกครั้ง (ช่วงที่หล่อพระไม่ได้เพราะโลหะไม่ยอมหลอมละลาย) หลังจากหล่อเสร็จมีอยู่เบ้าหนึ่งที่โลหะข้างในยังเผาไม่หลอมละลาย ช่างบอกว่าไม่น่าเป็นไปได้ อะไรอยู่ข้างใน ไฟแรงขนาดเตาหลอมแดงเป็นไฟ แต่ของที่อยู่ข้างในยังไม่ไหม้ น่านำมาทุบใส่คล้องคอได้เลย หลังจากเทหล่อเสร็จฝนก็ตกลงมาหนักขึ้น (ที่จริงวันนั้นมีพายุเข้า) ทีมงานเอาช่อพระกริ่งที่พึ่งทุบเสร็จไปให้หลวงพ่อท่านดู ท่านกำช่อพระกริ่งสองช่อในมือ แล้วด้วยเหตุใดไม่ทราบช่อพระกริ่งก็ไปติดกับถังเครื่องสังฆทาน ดึงไม่ขึ้น ในข้อนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เรานำช่อพระกริ่งไปคืนช่างเพื่อนำกลับไปแต่งให้เรียบร้อย แล้วทีมงานก็พักเหนื่อยโดยทานข้าวที่วัด เสร็จแล้วผม ผอ.ประยูร และ ผอ.ด๊อง ก็ไปประชุมต่อที่อุดรตอนสองทุ่ม ถึง สี่ทุมกว่าๆ  เท่าที่จำได้ในการประชุมคืนนั้นคือง่วงมากๆ  
                ทีมงานและพนักงานได้มีโอกาสเห็นพระกริ่งบุษราคัมเป็นครั้งแรกส่วนใหญ่มีความพอใจ บอกว่าพระสวยมาก จะบ่นก็มีแต่เรื่องขนาด ที่สาวๆอยากให้เล็กกว่านี้ บ่นอุบอิบว่าใหญ่จัง แต่สำหรับคณะทำงานโดยเฉพาะคนชอบพระบอกว่า ขนาดกำลังเหมาะ เพราะต้องสามารถมองเห็นยันต์ด้านหลังองค์พระได้ และพระกริ่งส่วนใหญ่ องค์ไม่เล็ก  ลึกๆเราก็รู้สึกดีใจที่คนส่วนใหญ่ชอบ คณะทำงานก็ชอบ ทำให้คิดถึงคำสอนของ       ในหลวง เรื่องปิดทองหลังพระ (รู้สึกดีจริงๆ) พระกริ่งที่เราร่วมกันสร้างนั้นไม่มีเสียง (ส่วนใหญ่ที่มีเสียงเพราะมีโลหะด้านใน) ที่ไม่มีเสียงเพราะเราใช้วิธีฝังมวลสารที่หลวงพ่อเจริญท่านจะนำมาใส่ให้ใต้ฐานองค์พระ แล้วตีโลหะปิดทับอีกที  และเพื่อเป็นการป้องกันการปลอมในอนาคต ในฐานะคนชอบพระ เราจึงทำชื่อหลวงพ่อ ซึ่งเราเห็นฟ้องต้องกันว่าชื่อของท่านเป็นมงคล เลยทำชื่อ “เจริญ” ตอกใต้องค์พระกริ่งองค์เล็กทุกองค์  และขอเรียนแจ้งให้ทราบว่า มวลสารที่อยู่ใต้ฐานพระประกอบด้วย ผงคายธรรม เหล็กไหล(แบบงอกได้) ชาญหมาก อิฐพระธาตุพนม และบางองค์ก็มีปรอท ด้วย (ปรอท อยู่ในจานผงคายธรรมไม่รู้ว่ามาได้อย่างไร)
    ก่อนวันพิธีพุทธาภิเษก  คณะทำงานขึ้นไปเตรียมงานตามปกติ  ได้นำพระกริ่งองค์เล็กที่หล่อเพิ่มและชนวนที่เหลือจากการหล่อ ไปถวายหลวงพ่อ และ เรามีโอกาสได้นอนในศาลาที่จะจัดงาน มีหน้าที่หลักนอกจากจะทำหน้าที่บรรจุมวลสารในองค์พระแล้วยังมีหน้าที่เย็บห่อใส่พระกริ่ง รวมทั้งหน้าที่หลักคือการเฝ้าพระที่จะเข้าพิธี (กันพระที่จะเข้าพิธีหายก่อนเวลาอันควร) ซึ่งก็รวมถึงพระกริ่งของเราด้วย นอกจากนั้นยังมีพระผงรุ่นสู้ไม่ถอย และพระกริ่งองค์เล็กที่ลูกศิษย์ของท่านนำมาร่วมพิธีด้วย เฝ้ากันทั้งวันทั้งคืน และได้เห็นศรัทธาของชาวบ้านโนนสว่างและชาวบ้านที่อื่น มาช่วยกันทำงาน บ้างก็ทำบายศรี บ้างก็จัดเตรียมดอกไม้ เพื่อบูชาในงานพิธี แต่ละคนที่มาช่วยงานล้วนมากันด้วยจิตใจที่งดงาม ใช้เงินของตนเองในการซื้อของมาจัดทำ ลงแรง และก็พอใจเพียงได้ร่วมทำบุญโดยไม่ได้หวังสิ่งใด นี่เป็นอีกหนึ่งความรู้สึกที่ดีๆในงานบุญครั้งนี้  
    18 ตุลาคม 2548 พิธีพุทธาภิเษก  พระกริ่งบุษราคัม  ซึ่งตรงกับวันออกพรรษาพอดี  ในช่วงเช้าจึงมีชาวบ้านมากมายมาทำบุญที่วัด ต่อด้วยการแข่งขันตีกลองกริ่ง ซึ่งเป็นกลองโบราณ หลวงพ่อเจริญท่านคิดริเริ่ม ส่งเสริม การแข่งขันการตีกลองกริ่งขึ้นมาเพื่อสืบสานวัฒนธรรม มีการแข่งตีกลองกันอย่างสนุกสนาม กลองกริ่งนี้ก็แปลกคือพอตีแล้วเสียงดังคล้ายๆกริ่ง แถมยังมีรูให้เติมน้ำใส่ไปในกลองเพื่อปรับเสียงกลองให้กังวานใสได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังมีการแข่งสรภัญญะ ซึ่งเป็นบทกลอนที่สรรเสริญพระพุทธเจ้า หรือเกี่ยวกับการเล่าพุทธประวัติ หรือ เป็นกลอนลา กลอนคติ ซึ่งมีการแข่งขันทั้งระดับประชาชนทั่วไป และรุ่นเยาวชน มีการแข่งขันกันหลายคณะ กว่าจะตัดสินได้ก็เกือบทุ่ม เรื่องนี้ผมรูสึกประทับใจมาก เพราะเห็นว่าเป็นการส่งเสริมพุทธศาสนา อีกทั้งมีการแข่งขันทั้งรุ่นเล็ก และรุ่นใหญ่ เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมอันดี และให้ทุกคนมีส่วนร่วม ที่จริงน่าจะมีการแข่งขันในระดับประเทศก็จะดี
    งานพิธีช่วงพุทธาภิเษกจริงๆเริ่มประมาณ 2 ทุ่มกว่าๆ เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อหลวงพ่อเจริญ จุดเทียนชัย  และผู้บริหารจุดเทียน นำโดยท่านกรรมการผู้จัดการ (คุณสมพร) เทียนที่จุดนั้นมีหลายชื่อ อาทิ เทียนมหาเศรษฐี เทียนมหาทรัพย์ เทียนมหาธนทรัพย์ เทียนมหาโภคทรัพย์ เทียนมหาอุต  เทียนมหาอุดม เทียนมหาลาภ เทียนมหาโชค เทียนมหามงคล เทียนมงคล  หลังจากนั้นพิธีกรรมก็ดำเนินอย่างเข้มขลัง ทั้งการอัญเชิญครูบาอาจารย์ และการสวดมนต์ เช่น อิติปิโส 108 จบ สลับกันไปมา ระหว่างพระกับฆราวาส  ในช่วงของการสวดโดยเฉพาะการอัญเชิญครู(ปลุก) จะมีประชาชนที่ฝึกฝนการสวดและปฏิบัติได้ระดับหนึ่ง เรียกว่า ครูธรรม (จะสวดเป็นภาษาธรรม เวลาอัญเชิญครู เป็นภาษาที่เราฟังไม่รู้เรื่อง) เรื่องนี้อธิบายยากต้องเห็นเอง บางคนถ้าถูกของก็จะโวยวาย ร้องห่มร้องไห้ ทำให้ชาวเมืองหลวงอย่างเราๆแปลกใจกันใหญ่ (สามารถดูภาพจากวีดีโอได้) พิธีการไปจบเอาตอนรุ่งสาง เมื่อหลวงพ่อท่านดับเทียนชัย  หลังจากงาน ผมได้ขออนุญาตนายเอาเทียนชัยที่หลวงพ่อจุดในพิธีมาตัดครึ่งหนึ่งเพื่อแบ่งให้ชาวบ้าน ที่ต้องการนำไปบูชา นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกจริงๆมีคนมาขอไปจนหมด รวมทั้งของเกือบทุกอย่างในพิธี ชาวบ้านพากันเก็บไปไว้บูชา แสดงให้เห็นถึงบุญบารมีของหลวงพ่อเป็นอย่างดี  การร่วมงานในครั้งนี้จึงเป็นอีกความทรงจำที่ดีในชีวิต และสิ่งที่พวกเราชาวอาร์วีพี ได้ทำร่วมกันก็เป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว  ในปัจจุบันพระกริ่งบุษราคัมที่เราร่วมกันสร้างยังคงอยู่ และยังคงอยู่ถึงแม้นว่าเราจะตายจากไป วันนี้เราเห็นพระไม่เป็นเพียงวัตถุมงคลเท่านั้น แต่เห็นถึงเบื้องหลังความร่วมแรงร่วมใจ ความเสียสละ ความศรัทธา  และเห็นบุญที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ เช่นเดียวกับที่เรารู้ว่ามีลม แม้ว่าเราจะไม่เห็นก็ตาม
    บทส่งท้าย ผมอ่านหนังสือของหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี เป็นคู่มือทำวัตร สวดมนต์แปล  มีอยู่บทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระโณ(ณา)” แปลว่า เรามีกรรมเป็นของๆตน  มีกรรมเป็นผู้ให้ผล   มีกรรมเป็นแดนเกิด  มีกรรมเป็นผู้ติดตาม  มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย  “ยัง กัมมัง กะริสสามิ, กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา, ตัสสะ ทายาโท(ทา) ภะวิสสามิ” แปลว่า เราทำกรรมอันใดไว้  เป็นบุญหรือเป็นบาป  เราจะเป็นทายาท  คือว่าเราจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นๆสืบไป  ดังนั้น กรรมดี ที่พวกเราได้สร้างร่วมกันในครั้งนี้ ก็จะเป็นเนื้อนาบุญติดตามตัวเราตลอดไป
ท้ายที่สุด คณะทำงานขอน้อม กาย วาจา ใจ ระลึก ถึง คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์        และกราบขอบคุณพระเดชพระคุณพระครูเจริญ ท่านเจ้าอาวาส  วัดโนนสว่าง ตำบลหมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เป็นอย่างสูงยิ่ง ที่ได้ให้ความเมตตา ให้พวกเราได้มีโอกาสร่วมกันสร้างพระกริ่งบุษราคัมในครั้งนี้ ขอขอบคุณ  พระสงฆ์และฆราวาส  แห่งวัดโนนสว่าง  ขอบคุณพวกเราทุกๆคนและขอขอบคุณบริษัทกลางฯ ที่สนับสนุนในงานบุญครั้งนี้  
ขอบุญบารมีของพระศรีรัตนศักยมุนี (หลวงพ่อบุษราคัม)  จงดลบันดาลให้ทุกๆท่าน ที่มีส่วนร่วมในมหากุศลในครั้งนี้ จงมีความสุข ความเจริญ  ปราศจากทุกข์ภัย ตลอดไปเทอญ

                            ลูกศิษย์ สายบริษัทกลางฯ
                                นายกรวิชญ์  สกุลตัง
                       หัวหน้าคณะจัดสร้างพระกริ่งบุษราคัม
รูปภาพ: 2_1_96780feb9428557.jpg
รูปภาพ: 2_14_1ecd0e83d4f2445.jpg
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
กริ่งบุษราคัมสร้างโบสถ์
          นับว่าเป็นกริ่งบุษราคัมรุ่นแรกๆ ครับจัดสร้างจำนวนไม่มากนัก วัตถุประสงค์เพื่อนำเงินรายได้ทั้งหมดไปจัดสร้างโบสถ์

           3 กษัตริย์ บูชาที่วัด 1,000 บาท  ยังมีให้บูชา
รูปภาพ: 2_1_48fcb40c9ebf9be.jpg
รูปภาพ: 2_1_2e89402ff50dd18.jpg
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
กริ่งเจริญทรัพย์
     บูชา  500 บาท ยังมีให้บูชาที่วัด
รูปภาพ: 2_14_4862093b2976e79.jpg
รูปภาพ: 2_1_132a64d79343a4b.jpg
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้