ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : คัมภีร์ใบลาน วัดโนนสว่าง(หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

คัมภีร์ใบลาน วัดโนนสว่าง(หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต)



คัมภีร์ใบลาน (หนังสือใบลาน)
ประวัติใบลาน  




    คัมภีร์ใบลาน เป็นเอกสารบันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ทั้งคดีโลกและคดีธรรม เช่น เรื่องราวและหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ วรรณกรรม พงศาวดาร กฎหมายโบราณ ตำรายา เวทมนตร์คาถา เป็นต้น
                ใบลานยาว เรียกว่า หนังสือผูก
                ลานสั้น เรียกว่า หนังสือก้อม
      
           การจารหรือเขียนหนังสือลงในใบลานนั้น มีมาตั้งแต่โบราณกาล และน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากลังกา เพราะพระสิงหลในลังกาได้จารพระไตรปิฎกลงในใบลานในการทำสังคายนาครั้งที่ ๕ (นับต่อจากสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่อินเดีย) โดยที่พระภิกษุสงฆ์ชาวล้านนาได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกาหลายครั้งตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีเป็นต้นมา เมื่อกลับมาได้นำเอาคัมภีร์พระไตรปิฎกมาเป็นจำนวนมาก และอาณาจักรล้านช้าง(รวมถึงภาคอีสานของไทย)ก็ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านนาอีกทอดหนึ่ง ดังเห็นได้จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรล้านช้างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางด้านวัฒนธรรมและการสืบทอดพุทธศาสนา ตลอดถึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางด้านสายโลหิต    


เช่น ในสมัยพระเจ้าวิชุลราช ได้ทำการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยสืบทอดจากเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้าโพธิสาลราช พระโอรสของพระเจ้าวิชุลราช ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเมืองเชียงใหม่ และพระองค์ได้ขอพระเทพมงคลเถระและบริวารพร้อมด้วยพระธรรมคัมภีร์จำนวน ๖๐ คัมภีร์ ไปเผยแผ่ที่อาณาจักรล้านช้างอีกด้วย และในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาลราช ได้เสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่อยู่ระยะหนึ่งแล้วเสด็จกลับมาครองอาณาจักรล้านช้างพร้อมทั้งได้นำเอาพระธรรมคัมภีร์ ตลอดถึงนักปราชญ์ราชบัณฑิต กลับมายังอาณาจักรล้านช้างด้วย



                จากหลักฐานดังกล่าวทำให้วัฒนธรรมในการจารคัมภีร์ใบลานสืบทอดมาสู่อาณาจักรล้านช้างและภาคอีสานของไทยด้วยชาวอีสานในอดีตมีความเชื่อว่า หากจารอักษรตัวธรรม ๑ ตัว จะได้อานิสงส์หรือผลบุญเท่ากับสร้างพระพุทธรูป ๑ องค์ การจารหรือการคัดลอกคัมภีร์ใบลานเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา อีกทั้งผู้จารหรือเจ้าของลานผู้ถวายคัมภีร์ก็จะได้อานิสงส์ ได้ผลบุญมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเพื่อจะได้บรรลุและเข้าถึงนิพพานในชาติต่อๆ ไป ดังจะเห็นได้จากคำอธิษฐานตอนท้ายสุดของลานจะบอกชื่อผู้จาร ชื่อเจ้าของลาน และวัตถุประสงค์ของผู้ถวายคัมภีร์เกือบทุกเรื่องจะมีคำว่า “นิพพานะปัจจะโย โหตุ” เสมอ ดังนั้นชาวอีสานจึงนิยมสร้างคัมภีร์ถวายวัดเป็นพุทธบูชา หรือเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการีหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ดังนั้นตามวัดต่างๆ จึงมีคัมภีร์ใบลานที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากทั้งพระไตรปิฎกและนิทานชาดก บางวัดแม้เรื่องเดียวกันก็มีหลายฉบับ หญิงบางคนที่มีศรัทธาแรงกล้าถึงกับเอาเส้นผมของตนถักเป็นสายสนองผูกคัมภีร์ใบลานก็มี เพราะความเชื่อดังกล่าว


admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หลวงพ่อท่านชำนาญแล้วไม่ต้องใช้ไม้หมอนรองครับ

  



พระครูพิพัฒน์วิทยาคม(หลวงพ่อเจริญ  ฐานยุตโต)
ได้รวบรวมหนังสือใบลานเก่าและจาร(เขียน)ขึ้นมาใหม่เพื่อรักษาสืบทอดคัมภีร์ใบลานไว้ไม่ให้สูญหายและยังถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ที่ สนใจทั้งพระสงฆ์และฆราวาสได้อ่าน เขียนจนชำนาญหลายท่านมีนายอรรถพล   ธรรมรังษี ได้จารตำรา ถวายหลวงพ่อ เจริญหลายผูกและหลังจากสร้างวิหารเสร็จ ก็จะสร้างหอไตรไว้เก็บคัมภีร์ใบลานไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หลวงพ่อกำลังตรวจดูว่าเป็นคัมภีร์อะไรบ้างก่อนห่อด้วยผ้าไหมเก็บไว้ในตู้คัมภีร์

admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
       หนังสือใบลานคือ หนังสือที่จาร (เขียนด้วยเหล็กแหลม) ลงบนใบของต้นลาน ซึ่ง เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายต้นตาล ใบลานที่จารเสร็จแล้วทุกลานจะต้องมี เครื่องหมายบอกลำดับหน้าลาน

การจารหนังสือใบลาน

อธิบายพอเป็นสังเขปดังนี้

1. ใบลานเปล่า

        โดยปกติใช้ใบลานอ่อนส่วนยอดที่บ่อทันกางใบ หรือกางใบแล้วอย่างหลายบ่อให้เกิน 1ปี ตัดทั้งก้านทั้งใบนำมาตากแดดผึ่งลมคาก้านให้แห้งดี จึงมาแจกออกเป็นใบๆ นำมาบีบแหนบใส่กันตามจำนวนที่ต้องการ จึงตัดเจียน หาไม้แบบตามกว้างยาวที่เฮาสิเอา มาประกบสองด้านของใบลานที่แหนบกันไว้ แล้วไสให้เท่ากันเสมอตามไม้แบบนั้น แล้วแต่ ว่าสิเอาหนังสือก้อม หรือหนังสือยาว ถ้าให้ดี คันเป็นหนังสือสำคัญใช้ลานหลาย ต้องการความคงทน ก็เอาไปต้มหรือนึ่งก่อนจึงนำมาใช้ ก่อนจารต้องตีเส้น เว้นย่อหน้า และเว้นท้ายห่างจากขอบลานประมาณ1 – 1.5 นิ้ว เว้นฮูใส่สายสนอง(สายใส่เชือกร้อย) ช่วงกลาง ทั้งนี้เพื่อ กันขาด กันสึกกร่อน สิเอาจักบรรทัดแล้วแต่ความเหมาะสมของหนังสือหรือความกว้างของลาน ถ้า 4 บรรทัด ก็ให้เว้นฮูสายสนอง สองบรรทัดกลาง ส่วนบรรทัดบน และล่าง จารยาวไปเลย

2. หมอนจาร

        ใช้ใบลานเปล่า ประมาณ 5 – 10 แผ่นตัดเจียนเท่ากันขนาดเท่ากับ ใบลานที่สิจารหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย ลานที่สิเฮ็ดหมอนรองจารนั้น ความยาวตั้งแต่ ประมาณ 1 คืบขึ้นไป ตามเหมาะสมแก่งาน นำมาหยิบซ้อนกัน แล้วหยิบ(เย็บ)ผ้าห่อทับให้ดี เพื่อเวลาจารหนังสือ สิได้นุ่ม และยืดหยุ่นมือ ใช้ด้ายฝั่นเชือกมาพันรอบ หมอนจารพร้อมกับมัดให้ตึงพอสอดใบลานเข้าได้ประมาณ 4 – 5 แล้วเย็บยึดด้ายเชือกนั้นไว้ตรงขอบหมอนสองด้าน แผ่นและทำสองข้างซ้ายขวา เพื่อไว้บังคับใบลาน เมื่อสอดใบลานเข้าไป เวลาจารสิบ่อได้ขยับไปมา

3. เหล็กจาร

        เฮ็ดจากไม้กลม ความใหญ่ประมาณนิ้วมือ ตามที่ถนัดจับ ปลายไม้ด้านที่สิใช้จาร ฝังเข็มลงตงกลางเนื้อไม้ให้ลึกประมาณข้อนิ้วมือหนึ่ง แล้วตัดให้เสมอปลายไม้ นำมาปาดเจ้ย (ปากฉลาม) เป็นสี่ด้านแบบปิรามิดไปทางปลายเหล็กที่โผล่ นำไปฝนให้แหลมคมทั้ง 4 ด้าน ถ้าเอาเข็มขนาดน้อย ประมาณเข็มสอย เวลาจารกะสิได้ตัวหนังสือเส้นน้อยคมดี ถ้าเข็มหรือเหล็กจารใหญ่ ตัวหนังสือกะสิแตก แต่หากชัดดำดี แต่เวลาจารต้องระวัง มันซอด(ทะลุ)ลงล่าง

4. ผงเขม่าผสมชันห่อผ้าชุบน้ำมันยาง

        ใช้ขี้นิลหม้อ(ดินหม้อ/ผงถ่าน)ตำผสมกับขี้ซี(ชัน) แห้ง ห่อผ้าขาวบาง ชุบน้ำมันยาง เพื่อใช้ถูใบลานที่จารแล้ว ให้เกิดสีดำของตัวหนังสือขึ้นมา

5. น้ำมันยาง หรือบ่อมีกะใช้น้ำมันก๊าด เคี่ยวใส่ยางกุง ยางสะแบงจักหน่อย กะได้ สำหรับชุบห่อผงเขม่า

6. น้ำมันงา หรือน้ำมันหมากพร้าว สำหรับทาใบลานให้น้ำมันยางชุบเขม่าแล่นซึมดี

admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

(LAN)
***ต้นลาน ***ใบลาน

ลาน หรือไม้ลาน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ ที่ไม่ขึ้นแพร่หลายนัก มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาและแถบเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนใหญ่จะชอบขึ้นอยู่ในที่มีอากาศชื้นเย็น มีฝนตกมาก ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด ในดินที่มีความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ต้นลานมีความคงทนต่อภัยธรรมชาติเป็นอย่างดี ต้นเล็กถึงแม้จะถูกไฟไหม้ก็จะงอกขึ้นได้ในโอกาสต่อไป เพราะรากของต้นลาน ฝังลงในดินลึกมาก ต้นลานที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิดคือ 1. Corypha umbraculifera Linn พบมากทางภาคเหนือ เรียกว่า "ลานหมื่นเถิดเทิงหรือลานวัด" นิยมปลูกตามวัดต่าง ๆ แต่มีน้อย มีถิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกา และถือว่าเป็นต้นไม้ประจำชาติด้วย 2. Corypha lecomtei Becc ชนิดนี้เองที่มีที่อุทยานแห่งชาติ ทับลาน เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย มีชื่อเรียกว่า "ลานดำ ลานขาว ลานพร้าว" นิยมใช้ใบทำเครื่องจักรสาน ลานชนิดนี้พบมากที่บ้านทับลาน บ้านขุนศรี บ้านบุพราหมณ์ บ้านวังมืด ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี บ้านท่าฤทธิ์ ตำบลวังม่วง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี บริเวณผานกเค้า อำเภอผานกเค้า จังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ยังพบ ทั่วไปบริเวณจังหวัดลพบุรี , ตาก ,พิษณุโลก,นครปฐม 3. Corypha elata Roxb หรือลานพรุ มีถิ่นกำเนิดในเบงกอล พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบมากทางภาคใต้ เขตอำเภอเชียรใหญ่และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาและตามเส้นทางจากจังหวัดกระบี่-พังงา ลานพรุมีลักษณะที่พิเศษแตกต่างจากลานชนิดอื่น คือ ลำต้นสูงคล้ายต้นตาล ขึ้นอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากตามที่ราบท้องทุ่ง แม้พื้นที่น้ำท่วมขัง
.....ต้นลาน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นตรงและแข็ง เนื้อไม้เป็นเส้นใย ไม่มีกิ่ง มีแต่ก้านออกรอบลำต้นเป็นชั้น ๆ มีหนามเป็นฟันเลื่อยสั้น ๆ อยู่สองข้างริมขอบก้านใบ ใบยาวประมาณ 2-3 เมตร ใบใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปพัด ค่อนข้างกลมคล้ายใบตาล บางทีเรียกปาล์มพัด ความยาวของใบ 3-4 เมตร ความกว้างที่แผ่ออกไปประมาณ 4.5-6 เมตร ถือเป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบใหญ่ที่สุดในโลก เป็นไม้ทิ้งใบตามธรรมชาติ วงจรชีวิต ของต้นลานค่อนข้างพิเศษกว่าไม้ตระกูลอื่น ๆ คือ เมือ่ต้นแก่ตั้งแต่อายุ 20-80 ปี ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกและผล นั่นหมายถึงชีวิตช่วงสุดท้ายของต้นลานสิ้นสุดแล้ว
ต้นลาน จะออกดอกเป็นช่อใหญ่คล้ายรูปปิรามิด ตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกหนึ่งจะมีดอกเป็นจำนวนล้าน ๆ ดอก สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม นับตั้งแต่เริ่มออกช่อดอกและบานกลายเป็น ผลกินเวลาประมาณ 1 ปีขึ้นไป ผลมีลักษณะกลมรี สีเขียว ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียว เมล็ดกลมสีดำ เนื้อในคล้ายลูกชิด หรือลูกจาก รับประทานได้ เมื่อผลแก่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินจะงอกเป็นต้นลานเล็ก ๆ มากมาย
เนื่องจากลานมีลำต้นเดียว ไม่มีหน่อ ดังนั้นเมล็ดจากผลเท่านั้นเท่านั้นที่จะทำหน้าที่สืบพันธุ์ได้ สามารถใช้เพาะขยายพันธุ์ แต่..การเจริญเติบโตของต้นลานเป็นไปอย่างช้ามาก ส่วนการย้ายปลูกกล้าไม้ลาน หาก มีการกระทบกระเทือนทางราก กล้าไม้จะไม่รอดตาย...
ประโยชน์ของ ต้นลาน
ลานถือได้ว่าเป็นไม้เศรษฐกิจประเภทหนึ่งของไทย โดยอาศัยผลผลิตที่ได้จาก ต้นลาน นำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ส่วนต่าง ๆ ของต้นลานที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แก่
1. ยอดลานอ่อน (ใบลานอ่อน) เป็นที่จารึก หนังสือพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา โดยการใช้เหล็กแหลมจารบนใบลานแล้วใช้ยางรักทา เอาทรายลบ ยางรักจะแทรกในตัวหนังสือที่จารเป็นเส้นดำ หรือจะใช้เขม่าไฟแทนก็ได้ เรียกหนังสือใบลานเหล่านี้ว่า "คัมภีร์ใบลาน" นอกจากนี้ยังนิยมนำมาพิมพ์เป็นการ์ด นามบัตร ที่คั่นหนังสือต่าง ๆ ใช้จักสานทำผลิตภัณฑ์ของใช้ อาทิ เช่น หมวก งอบ พัด กระเป๋า เสื่อ ภาชนะในครัวเรือน เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เช่น โมบายรูปสัตว์ ปลาตะเพียน ฯลฯ ส่วนภาคใต้นำยอดลานพรุ มาฉีกเป็นใบ สางออกเป็นเส้น ปั่นเป็นเส้นยาวคล้ายด้าย นำไปทอเป็นแผ่น เรียกว่า ห่งอวนหรือหางอวน ทำเป็นถุงรูปสามเหลี่ยมสำหรับไว้ต่อปลายอวน ใช้เป็นถุงจับกุ้งและเคยสำหรับทำหระปิ สานเป็นถุงใส่เกลือ วองใส่ยาเส้นและซองใส่แว่นตา
2. ใบลานแก่ ใช้มุงหลังคาและทำผนังหรือฝาบ้าน บางแห่งใช้ใบลานเผาไฟเป็นยาดับพิษอักเสบฟกช้ำบวมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกทั่วไปว่า "ยามหานิล"
3. ก้านใบ ใช้ทำโครงสร้าง ไม้ขื่อ ไม้แป และผนัง บางแห่งใช้มัดสิ่งของแทนเชือกเหนียวมาก ส่วนกระดูกลาน (ใกล้กับบริเวณหนามแหลม) มีความแข็ง และเหนียวมากกว่าส่วนอื่นของก้านใบ ใช้ทำคันกลดพระธุดงค์ นอกจากนี้ยังใช้ทำขอบภาชนะจักสานทั่วไป เช่น ขอบกระด้ง ตะแกรง กระบุง ตะกร้า เป็นต้น
4. ลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน ๆ สำหรับนั่งเล่นหรือใช้ตกแต่งประดับสวน ทำฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม ภาคใต้บางแห่งใช้ทำครกและสาก
5. ผล ลูกตาลอ่อนนำเนื้อในมารับประมานแบบลุกชิดหรือลูกจาก ส่วนเปลือกรับประทานเป็นยาขับระบายดี บางแห่งใช้ลูกลานทุบทั้งเปลือก โยนลงน้ำทำให้ปลาเมา แต่ไม่ถึงตาย สะดวกแก่การจับปลา
6. ราก ใช้ฝนรับประทานแก้ร้อน ขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด เป็นต้น
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 


  
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ที่ มีเชือกผูกเป็นมัดเล็กๆ ๑ มัด เรียก ๑ ผูก




    
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 




    
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้